ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

มี​ผู้​ออก​แบบ​ไหม?

ปีกคู่หน้าที่มีสมบัติชอบน้ำของด้วงนามิบ

ปีกคู่หน้าที่มีสมบัติชอบน้ำของด้วงนามิบ

● ผู้​คน​ราว ๆ 900 ล้าน​คน​ทั่ว​โลก​หา​น้ำ​ดื่ม​สะอาด​ไม่​ได้. ใน​หลาย​ที่ ผู้​หญิง​และ​เด็ก​ต้อง​เดิน​ไป​ตัก​น้ำ​ไกล​มาก แล้ว​ต้อง​แบก​กลับ​บ้าน. เชรรัง ชา​ตรี วิศวกร​ที่​สถาบัน​เทคโนโลยี​แห่ง​แมสซาชูเซตส์​กล่าว​ว่า “ผม​คิด​ว่า​เป็น​เรื่อง​แย่​มาก​ที่​คน​จน​ต้อง​เดิน​วัน​ละ​หลาย​ชั่วโมง​เพียง​เพื่อ​จะ​ได้​สิ่ง​จำเป็น​พื้น​ฐาน.” เพื่อ​ช่วย​บรรเทา​ความ​เดือดร้อน ชา​ตรี​กับ​เพื่อน​ร่วม​งาน​กำลัง​ศึกษา​วิธี​การ​ดัก​จับ​หมอก และ​พวก​เขา​ได้​แรง​บันดาล​ใจ​จาก​ด้วงนามิบ.

ขอ​พิจารณา: ทุก​เช้า​จะ​มี​หมอก​ลอย​ผ่าน​ทะเล​ทราย​นามิบ​ของ​แอฟริกา. ด้วง​นามิบ​ใช้​ช่วง​เวลา​สั้น ๆ นี้​หัน​เข้า​รับ​ลม​ใน​มุม​ที่​เหมาะ​สม. * ปีก​คู่​หน้า​ที่​แข็ง​ของ​มัน​มี​ปุ่ม​ซึ่ง​เคลือบ​ด้วย​สาร​ที่​มี​สมบัติ​ชอบ​น้ำ. น้ำ​จะ​ควบ​แน่น​เป็น​หยด​เล็ก ๆ. แรง​โน้มถ่วง​จะ​ทำ​ให้​น้ำ​ไหล​ไป​ตาม​ร่อง​ระหว่าง​ปุ่ม​บน​ปีก​คู่​หน้า​ที่​มี​สมบัติ​กัน​น้ำ​ได้​จน​เข้า​ปาก​ของ​มัน.

ชา​ตรี​กับ​เพื่อน​ร่วม​งาน​ต้องการ​ใช้​หลักการ​คล้าย ๆ กัน​เพื่อ​ดัก​จับ​หมอก​เป็น​น้ำ​ดื่ม​ให้​มนุษย์. แน่นอน มนุษย์​ต้องการ​น้ำ​มาก​กว่า​ด้วง​นามิบ​เพื่อ​จะ​อยู่​รอด​ได้. และ​การ​หา​เงิน​ทุน​เพื่อ​จะ​ทำ​เช่น​นั้น​เป็น​เรื่อง​ยาก​มาก. สำหรับ​ตอน​นี้ ชา​ตรี​กล่าว​ว่า​การ​ดัก​จับ​หมอก​เพื่อ​การ​บริโภค​ของ​มนุษย์​ยัง​คง “ต้อง​พัฒนา​ต่อ​ไป.”

คุณ​คิด​อย่าง​ไร? ปีก​คู่​หน้า​ที่​มี​สมบัติ​ชอบ​น้ำ​ของ​ด้วง​นามิบ​เกิด​ขึ้น​โดย​วิวัฒนาการ​หรือ​มี​ผู้​ออก​แบบ?

[เชิงอรรถ]

^ วรรค 4 มี​การ​พบ​เห็น​ด้วง​ชนิด​อื่น ๆ ใช้​วิธี​นี้​ด้วย.

[ภาพ​หน้า 22]

หยด​น้ำ​ก่อ​ตัว​ขึ้น​แล้ว​กลิ้ง​เข้า​ปาก​ด้วง

[ที่​มา​ของ​ภาพ​หน้า 22]

Photo: Chris Mattison Photography/photographersdirect.com