ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

การเผชิญข้อท้าทายในเขตงานที่ไม่มีใดเหมือน

การเผชิญข้อท้าทายในเขตงานที่ไม่มีใดเหมือน

การ​เผชิญ​ข้อ​ท้าทาย​ใน​เขต​งาน​ที่​ไม่​มี​ใด​เหมือน

เป็น​เวลา​หลาย​สิบ​ปี​มา​แล้ว​ที่​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ประกาศ​ใน​เขต​สงวน​นาวาโฮ ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​ใน​รัฐ​แอริโซนา, รัฐ​นิว​เม็กซิโก, และ​รัฐ​ยูทาห์ ของ​สหรัฐ​อเมริกา. ภาษา​นาวาโฮ​เรียก​เขต​นั้น​ว่า​ดีเน บี​เค​ยอ (ประเทศ​นาวาโฮ). ชาว​อเมริกัน​พื้นเมือง​กว่า 220,000 คน ซึ่ง​มี​ชื่อ​เรียก​ตาม​ภาษา​ท้องถิ่น​ว่า​พวก​ดีเน (ประชาชน) เป็น​หนึ่ง​ใน​เผ่า​ที่​มี​ประชากร​มาก​ที่​สุด​ของ​อินเดียน​แดง​ใน​อเมริกา​เหนือ.

ใน​ช่วง​ปี​เหล่า​นั้น ประชาคม​ของ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​เริ่ม​ต้น​จาก​ชาย​และ​หญิง​แห่ง​เผ่า​นาวาโฮ​ซึ่ง​สนใจ​คัมภีร์​ไบเบิล. เวลา​นี้​มี​สี่​ประชาคม​อยู่​ใน​เขต​สงวน​คือ​ที่​ทูบา ซิตี, เคเยนตา, คีมส์ แคนยอน, และ​ชินลี. (ดู​แผนที่​ข้าง​ล่าง.) จน​กระทั่ง​เมื่อ​ไม่​นาน​มา​นี้ แต่​ละ​ประชาคม​มี​หอ​ประชุม​เป็น​ของ​ตัว​เอง ยก​เว้น​ประชาคม​ใน​เมือง​ชินลี​ที่​ยัง​ต้อง​เช่า​ห้อง​เรียน​ของ​โรง​เรียน​เป็น​ที่​ประชุม. แต่​ขณะ​นี้​สถานการณ์​ได้​เปลี่ยน​ไป.

หอ​ประชุม​สำหรับ​เขต​ที่​ไม่​มี​ใด​เหมือน

มี​การ​อุทิศ​หอ​ประชุม​ราชอาณาจักร​เมือง​ชินลี ใน​วัน​เสาร์​ที่ 7 มิถุนายน 2003. มี​การ​บรรยาย​อุทิศ​โดย​แกร์ริต เลิช ซึ่ง​เป็น​สมาชิก​คน​หนึ่ง​ใน​คณะ​กรรมการ​ปกครอง​แห่ง​พยาน​พระ​ยะโฮวา. ใน​คำ​บรรยาย ท่าน​ได้​พรรณนา​ถึง​การ​เพิ่ม​จำนวน​ของ​หอ​ประชุม​ราชอาณาจักร​ตลอด​ทั่ว​โลก และ​ท่าน​อธิบาย​ว่า ยัง​มี​ความ​ต้องการ​หอ​ประชุม​เพิ่ม​ขึ้น​อีก​นับ​พัน​แห่ง​เพื่อ​ช่วย​ประชาคม​ต่าง ๆ มาก​กว่า 94,600 ประชาคม. ท่าน​กล่าว​แก่​ผู้​ฟัง​ทั้ง 165 คน​ถึง​เหตุ​ผล 15 ข้อ​ที่​ว่า เพราะ​เหตุ​ใด​พวก​เขา​ควร​หยั่ง​รู้​ค่า​หอ​ประชุม​หลัง​ใหม่​ของ​พวก​เขา รวม​ทั้ง​ผล​ประโยชน์​จาก​การ​เข้า​ร่วม​การ​ประชุม​คริสเตียน​เป็น​ประจำ. ท่าน​จบ​คำ​บรรยาย​อุทิศ​ด้วย​คำ​อธิษฐาน​ทูล​ขอ​พระ​ยะโฮวา​ทรง​อวย​พร​การ​ใช้​สถาน​ที่​ประชุม​ที่​ยอด​เยี่ยม​แห่ง​นี้.

แต่​เดิม​ประชาคม​นี้​เป็น​กลุ่ม​ที่​สมทบ​กับ​ประชาคม​คีมส์ แคนยอน​ซึ่ง​อยู่​ห่าง​ไป​ทาง​ตะวัน​ตก​เฉียง​ใต้​ประมาณ 100 กิโลเมตร. ตอน​นี้​ประชาคม​ชินลี​มี​เขต​มอบหมาย​ที่​จะ​ประกาศ​ข่าว​ดี​เรื่อง​ราชอาณาจักร​ของ​พระเจ้า​ใน​พื้น​ที่​ที่​กว้าง​กว่า 11,000 ตาราง​กิโลเมตร. ชน​เผ่า​นาวาโฮ​หลาย​คน​อาศัย​อยู่​ใน​บ้าน​เคลื่อน​ที่​หรือ​โฮ​กัน ซึ่ง​เป็น​ที่​อยู่​อาศัย​ที่​มี​ลักษณะ​เป็น​ทรง​หก​เหลี่ยม​หรือ​แปด​เหลี่ยม. เพื่อ​จะ​เข้า​ถึง​ที่​ต่าง ๆ ซึ่ง​มัก​จะ​อยู่​ห่าง​ไกล​กัน จำเป็น​ต้อง​ใช้​รถ​ขับ​เคลื่อน​สี่​ล้อ. ใน​แคนยอน เดอ เชย์​ซึ่ง​เป็น​เขต​ทำ​งาน​ที่​สวย​งาม​แห่ง​หนึ่ง​ของ​ประชาคม​ก็​เป็น​เช่น​นั้น​ด้วย.

แคนยอน เดอ เชย์—สถาน​ที่​ศักดิ์สิทธิ์​ของ​เผ่า​นาวาโฮ

พื้น​ที่​ราบ​สูง​ของ​แอริโซนา​เป็น​ทิวทัศน์​ที่​รู้​จัก​กัน​ว่า​ไกล​สุด​ลูก​หู​ลูก​ตา และ​ทาง​หลวง​ก็​ดู​เหมือน​ว่า​จะ​ไกล​ออก​ไป​อย่าง​ไม่​มี​ที่​สิ้น​สุด. แคนยอน เดอ เชย์​อยู่​ห่าง​จาก​หอ​ประชุม​ไป​ตาม​ทาง​หลวง​เพียง​ไม่​กี่​กิโลเมตร. หุบผา​ชัน​ซึ่ง​เป็น​ผา​หิน​สี​แดง​นี้​คดเคี้ยว​และ​อ้อม​ไป​มา​ตลอด​ระยะ​ทาง 40 กิโลเมตร มี​ความ​สูง​ตั้ง​แต่ 9 เมตร​และ​ค่อย ๆ ลาด​ชัน​ขึ้น​จน​มี​ระดับ​ความ​สูง​ถึง 300 เมตร. มี​นัก​ท่อง​เที่ยว​มา​เยี่ยม​ชม​พื้น​ที่​นี้​ซึ่ง​อยู่​ใน​ราย​ชื่อ​ของ​อนุสรณ์​สถาน​แห่ง​ชาติ​นับ​พัน​คน​ทุก​ปี. ชน​เผ่า​นาวาโฮ​ถือ​ว่า​หุบผา​ชัน​นี้​รวม​ทั้ง​แคนยอน เดล เมอโต​เป็น​สถาน​ที่​ศักดิ์สิทธิ์. มี​บาง​ครอบครัว​อาศัย​อยู่​ที่​นี่ โดย​แยก​ตัว​ออก​มา​อาศัย​อยู่​ใน​โฮกัน​ที่​สร้าง​ขึ้น​จาก​ท่อน​ซุง​และ​ดิน. กระนั้น พยาน​พระ​ยะโฮวา​ไป​เยี่ยม​พวก​เขา​ทุก​คน​และ​นำ​สรรพหนังสือ​ที่​มี​ใน​ภาษา​ของ​พวก​เขา​เอง​ไป​ให้.

เพื่อ​จะ​เข้า​ไป​ถึง​หุบเขา​นี้​ได้ จะ​ต้อง​มี​ผู้​นำ​ทาง​ที่​ได้​รับ​อนุญาต​ซึ่ง​เป็น​ชน​เผ่า​นาวาโฮ​ไป​ด้วย. นัก​ท่อง​เที่ยว​บาง​คน​เดิน​ไป ส่วน​บาง​คน​ก็​ขี่​ม้า; แต่​ส่วน​ใหญ่​เดิน​ทาง​โดย​ใช้​รถ​ขับ​เคลื่อน​สี่​ล้อ. การ​ใช้​รถ​ประเภท​นี้​เป็น​สิ่ง​จำเป็น​เพราะ​เส้น​ทาง​ที่​ไป​มัก​จะ​ต้อง​ข้าม​ลำธาร​แห้ง​ซึ่ง​เรียก​ว่า​ชินลี ว็อช. ผู้​นำ​ทาง​ยัง​รู้​วิธี​หลีก​เลี่ยง​บริเวณ​ที่​มี​ทราย​ดูด​ซึ่ง​บาง​ครั้ง​สามารถ​กลืน​ม้า​หรือ​รถ​กระบะ​ได้. แต่​อะไร​ที่​ทำ​ให้​แคนยอน เดอ เชย์​น่า​ดึงดูด​ใจ​เช่น​นั้น?

มี​การ​บันทึก​ประวัติ​ของ​หุบเขา​นี้​ไว้​บน​ผนัง​ของ​หิน​ผา​สูง​ชัน​โดย​มี​ลักษณะ​เป็น​ภาพ​สลัก​และ​ภาพ​วาด. นัก​โบราณคดี​เชื่อ​ว่า​ที่​พัก​อาศัย​ใน​หน้าผา​ที่​มี​ชื่อเสียง ซึ่ง​สร้าง​ขึ้น​ที่​หน้าผา​ใน​ถ้ำ​ใหญ่ ถูก​ทำ​ขึ้น​ใน​ช่วง​ระหว่าง ส.ศ. 350 ถึง 1300. ที่​พัก​อาศัย​ใน​หน้าผา​ที่​มี​ชื่อเสียง​มาก​ที่​สุด​คือ​ไวท์ เฮาส์ รูอีน ที่​เรียก​เช่น​นี้​เพราะ​ผนัง​ของ​โครง​สร้าง​ด้าน​หนึ่ง​เป็น​สี​ขาว. พวก​อินเดียน​แดง​เผ่า​อะนา​ซาซี (ใน​ภาษา​นาวาโฮ​หมาย​ถึง “ศัตรู​เก่า​แก่”) ได้​ทิ้ง​สถาน​ที่​นี้​ไว้​ใน​ช่วง​ประมาณ​ปี ส.ศ. 1300. เชื่อ​กัน​ว่า​ชน​เผ่า​นาวาโฮ​ยัง​ไม่​เข้า​มา​ใน​เขต​นี้​จน​กระทั่ง​ศตวรรษ​ที่ 18.

หาก​คุณ​มี​โอกาส​ไป​เที่ยว​ที่​แคนยอน เดอ เชย์ คุณ​จะ​ใช้​เส้น​ทาง​นาวาโฮ​หมาย​เลข 7. บริเวณ​ทาง​โค้ง​ซึ่ง​อยู่​ไม่​ไกล​จาก​อนุสรณ์​สถาน​แห่ง​ชาติ​ให้​คุณ​สังเกต​ป้าย​ที่​มี​ข้อ​ความ​ว่า “หอ​ประชุม​ราชอาณาจักร ยีอีโฮวา ยาดาฮัลเนอีบี” และ “หอ​ประชุม​ราชอาณาจักร​แห่ง​พยาน​พระ​ยะโฮวา.” เชิญ​คุณ​แวะ​เยี่ยม​ที่​นั่น​ด้วย.

[แผนที่​หน้า 22]

(ราย​ละเอียด​ดู​จาก​วารสาร)

โคโลราโด

เผ่า​นาวาโฮ

แอริโซนา

อนุสรณ์​สถาน​แห่ง​ชาติ​แคนยอน เดอ เชย์

ชินลี

เคเยนตา

ทูบา ซิตี

เผ่า​โฮปี

คีมส์ แคนยอน

นิว​เม็กซิโก

ยูทาห์

[ภาพ​หน้า 23]

นัก​โบราณคดี​กล่าว​ว่า​ชน​เผ่า​อะนาซาซี​สิบ​สอง​ครอบครัว​อาจ​เคย​อาศัย​อยู่​ด้วย​กัน​ใน​บ้าน​ที่​หน้าผา​แห่ง​นี้

[ภาพ​หน้า 24]

โฮกัน

[ภาพ​หน้า 24]

แคนยอน เดล เมอโต

[ภาพ​หน้า 24]

หิน​แมงมุม​ใน​แคนยอน เดอ เชย์